“กรมการค้าต่างประเทศ” แนะผู้ประกอบการขอหนังสือรับรองหลัง “อียู”แบนเพชรรัสเซียเลี่ยงกระทบส่งออก

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สหภาพยุโรป (อียู) ได้กำหนดมาตรการต่อการค้าสินค้าเพชรจากรัสเซีย โดย คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออก Council Decision (CFSP) 2023/2874 กำหนดให้สมาชิกสหภาพยุโรปห้ามการนำเข้า การซื้อขายหรือการโยกย้ายเพชรจากรัสเซีย โดยมาตรการข้างต้นครอบคลุมเพชร (เกรดอัญมณี) เพชรสังเคราะห์ และเครื่องประดับเพชร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปยังสหภาพยุโรปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจะเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 67 เป็นต้นไป ครอบคลุมเพชรที่มีถิ่นกำเนิดในรัสเซีย เพชรที่ส่งออกจากรัสเซีย และเพชรที่นำผ่านรัสเซีย สำหรับระยะที่สอง ครอบคลุมเพชรของรัสเซีย ที่ผ่านขั้นตอนการผลิตจากประเทศอื่น โดยให้มีระยะเวลาการปรับใช้มาตรการ (phasing-in) สำหรับระยะดังกล่าว ในการกำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการตรวจสอบแหล่งที่มาของเพชร ระหว่างวันที่ 1 มี.ค.-1 ก.ย. 67 เพื่อให้การใช้บังคับมาตรการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ

“สินค้ากลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 3 ของไทย โดยในปี 66 ช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค. การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 7,391.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับกลุ่มสินค้าเพชรมีมูลค่าการส่งออก 1,112.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยตลาดหลักในสหภาพยุโรป คือ เบลเยียม ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะส่งออกเพชรเกรดอัญมณี ทั้งที่เจียระไนแล้วและยังไม่ได้เจียระไน เพชรสังเคราะห์ และเครื่องประดับเพชรไปยังสหภาพยุโรป จึงต้องตรวจสอบที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เพื่อปรับตัวและรองรับมาตรการดังกล่าว”

นายรณรงค์ กล่าวต่อว่า ไทยเป็นประเทศที่ไม่มีเหมืองเพชรจึงต้องพึ่งพาการนำเข้าเพชรจากต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยกรมฯเป็นส่วนหนึ่งในการรับรองแหล่งที่มาของเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน ภายใต้กรอบความตกลง Kimberley Process ซึ่งผู้ประกอบการที่จะส่งออกเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนเกรดอัญมณีตามพิกัดอัตราศุลกากร 7102.31 สามารถขอหนังสือรับรองการส่งออกเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนจากกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เพื่อแสดงแหล่งที่มาของเพชรร่วมกับเอกสารหลักฐานอื่นใดอีกทางหนึ่งได้ โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนได้ที่ กองบริหารการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ

You May Also Like

More From Author