กระเทือนไปถึงราคาขายปลีกทะยานขึ้นทันที กก.ละ 28-29 บาท ทำเอากระทรวงพาณิชย์ ที่มีหน้าที่ดูแลราคาขายปลายทาง สะดุ้งโหยง! ออกโรงค้านทันที ห่วงผลกระทบค่าครองชีพของประชาชน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอีกยาวเป็นโขยง ที่สำคัญยังสวนทางกับนโยบาย “ควิกวิน” ของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีที่ประกาศลั่นต้องการ “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้” ให้กับประชาชน
หากวิเคราะห์ลึกถึงความหาญกล้าประกาศขึ้นราคาน้ำตาลทราย กก.ละ 4 บาท ของ สอน.ครั้งนี้ หลังประเมินสถานการณ์ปีนี้ ถือเป็นปีแรก ที่เกิดปรากฏการณ์ราคาน้ำตาลทรายตลาดโลก สูงกว่าราคาน้ำตาลทรายในประเทศ ตั้งแต่ประกาศลอยตัวในปี 61 เป็นผลจากอินเดีย ผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลก เจอปัญหาภัยแล้ง ผลผลิตอ้อยลดลงมาก จึงห้ามส่งออกน้ำตาลแบบไม่มีกำหนด ยิ่งผลักดันให้ราคาตลาดโลกสูงขึ้น
ตลาดโลกพุ่งแซงใน ปท.
เมื่อราคาตลาดโลกสูงกว่าในไทยมาก ประกอบกับไทยได้ยกเลิกระบบโควตาแล้ว จึงทำให้เกิดกองทัพมดลักลอบส่งออกน้ำตาลถี่ยิบ จนเกรงว่า ถ้าปล่อยให้บานปลายกว่านี้ จะทำให้ตลาดน้ำตาลในประเทศตึงตัว จนขาดแคลนได้ ขณะที่ราคาน้ำตาลในประเทศช่วงที่ผ่านมา ก็ได้ปรับขึ้นไปที่ กก.ละ 26-29 บาทแล้ว แต่ราคาทั้งหมดที่ปรับขึ้นไปแล้ว ผู้ที่ได้กำไรจุก ๆ กลับเป็นโรงงานน้ำตาลเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่ชาวไร่อ้อย ยังได้รับการคำนวณราคาอ้อยหน้าโรงงานที่ 19-20 บาทเช่นเดิม ส่วนต่างถึง 3-4 บาท กลับไม่ถูกคำนวณเป็นรายได้ในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่ใช้ระบบ 70:30 ชาวไร่อ้อย (ผลตอบแทนจากราคาอ้อย) สัดส่วน 70% และโรงงานน้ำตาล (ผลตอบแทนการผลิต) สัดส่วน 30%
ในฐานะที่ดูแลชาวไร่อ้อย ทางเดียวที่ทวงคืนความเป็นธรรมได้ จึงต้องประกาศขึ้นราคาหน้าโรงงานอีก กก.ละ 4 บาท โดยแยกเป็น 2 ส่วน คือ 2 บาทแรก จะนำไปใช้เพิ่มค่าอ้อยให้กับเกษตรกร ประมาณการวงเงินที่จะได้คือ 5,000 ล้านบาท ตามระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70 : 30 ในส่วนของชาวไร่จะได้รับประมาณ 3,500 ล้านบาท ส่งผลให้ชาวไร่ได้รับเงินค่าอ้อยเพิ่มขึ้นประมาณ 42 บาทต่อตันอ้อย และอีก 2 บาท ประมาณการวงเงินที่จะได้คือ 5,000 ล้านบาท ในส่วนนี้นำไปใช้แก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากปัญหาฝุ่นพิษ พีเอ็ม 2.5 ที่เกิดจากการเผาอ้อย เพื่อจะได้ไม่ต้องมานั่งลุ้นขอเงินรัฐบาลทุกปี ปีละ 7–8 พันล้านบาท
ครม.สั่งคุมราคา-ส่งออก
แต่คงลืมไปว่า เมื่อขาหนึ่งขึ้นราคา เพื่อช่วยชาวไร่ แต่อีกขาหนึ่ง ราคาที่ถูกปรับขึ้น กลับถูกผลักภาระมาที่ผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งส่วนนี้ เป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ดูแล จึงได้เห็นการออกมาฟาดกันข้ามกระทรวงในช่วงแรกทันที หลังจาก สอน. สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศเตรียมปรับขึ้นราคาอ้อยหน้าโรงงาน กก.ละ 4 บาท ในวันเดียวกันทางกรมการค้าภายใน สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ได้ออกมาประกาศขอความร่วมมือไม่ให้ขึ้น แต่สุดท้ายทาง สอน.ก็ไม่สนประกาศขึ้นวันรุ่งขึ้นทันที
จนเรื่องบานปลายนำมาสู่การเรียกประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ของกระทรวงพาณิชย์ แบบเร่งด่วน จนไปถึงทำเนียบรัฐบาล นำเข้าสู่วาระ ครม. ดึงน้ำตาลทรายกลับเข้าไปเป็นสินค้าควบคุมทันที แปลว่า ต้องจำหน่ายในราคาที่กำหนด คือ ราคาหน้าโรงงานอยู่ที่ กก.ละ 19-20 บาทตามเดิม จาก กก.ละ 23-24 บาท ส่วนขายปลีกก็กลับไปอยู่ที่ กก.ละ 23-24 บาท จากขึ้นไป กก.ละ 28-29 บาท
ถูกฟ้องจนต้องลอยตัว
รวมถึงการควบคุมการส่งออกตั้งแต่ 1 ตัน หรือ 1,000 กก. ขึ้นไป ต้องขออนุญาตจากคณะอนุกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้น มีเลขาธิการ สอน. เป็นประธาน มีรองอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นรองประธาน เพื่อให้น้ำตาลทรายมีเพียงพอใช้ในประเทศ และไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลทรายของไทย
เพราะกระทรวงพาณิชย์ เกรงว่า สินค้าจำนวนมากที่ใช้น้ำตาลจะปรับขึ้นตาม เช่น เครื่องดื่มต่าง ๆ ทั้งน้ำอัดลม นมและผลิตภัณฑ์ ปลากระป๋อง ที่ต้นทุนสูงอยู่แล้ว และยังไม่ได้ขึ้นราคา ยังไม่นับรวมสินค้าอื่น ๆ ที่กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้ดูแล เช่น อาหารตามสั่ง ร้านกาแฟ เบเกอรี่ ขนมหวาน ฯลฯ อีกมาก หากสินค้าเหล่านี้ขึ้นราคาพร้อมกัน จะกระชาก “ค่าครองชีพ” แบบฉุดไม่อยู่ ยิ่งทำให้กระทรวงพาณิชย์ ดูแลราคาสินค้ายาก แม้ว่าช่วงแรก ๆ ของการประกาศจะขลุกขลักกันบ้าง เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ทั้ง 2 หน่วยงานก็พยายามตามแก้ปัญหาจนผ่านไปได้
ถามว่า…ปัญหาน้ำตาลทรายเพิ่งเกิดขึ้นหรือไม่? ก็ต้องย้อนไปถึงปี 59 หลังจากที่ไทยถูกบราซิล ผู้ส่งออกน้ำตาลเบอร์ต้น ๆ ของโลก ฟ้องร้องต่อองค์การการค้าโลก หรือดับเบิลยูทีโอ ว่า ไทยที่เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลเบอร์ต้น ๆ ของโลก เช่นกัน ใช้อำนาจรัฐบาลแทรกแซงอุดหนุนส่งออกน้ำตาล โดยตั้งราคาขายน้ำตาลในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก ทำให้เมื่อนำรายได้มาถัวเฉลี่ยกับราคาส่งออกทำให้ไทยส่งออกน้ำตาลไปตลาดโลกได้ในราคาที่ต่ำ จนปี 60 รัฐบาลได้ประกาศลอยตัวราคาน้ำตาลทรายมีผลตั้งแต่ 15 ม.ค. 61 รวมถึงยกเลิกระบบโควตาทั้งหมด
ถอยหลังได้ไม่คุ้มเสีย
“วิโรจน์ ณ ระนอง” ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายสาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ มองว่า การนำน้ำตาลทรายเข้าไปสู่สินค้าควบคุมถือเป็นนโยบายที่ถอยหลังเข้าคลองครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปี เพราะหลังจากที่ทำให้ชาวไร่อ้อยเสียประโยชน์ที่ควรได้แล้ว รัฐกลับต้องใช้เงินภาษีมหาศาลมายกระดับราคาอ้อย ซึ่งมีความเสี่ยงที่ผิดกติกาการค้าโลก ขณะที่มีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนเพียงเล็กน้อย ผลกระทบจากการบริโภคทั้งทางตรงของครัวเรือนที่เฉลี่ยไม่เกินเดือนละ 1 กก. และทางอ้อมที่ผ่านขนมและเครื่องดื่ม ถ้าคิดคำนวณออกมาแล้ว ก็ไม่ได้มีผลกระทบที่สูงมากอย่างที่หลายคนรู้สึกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“แม้ กกร.กำหนดให้การส่งออกน้ำตาลทรายเกิน 1 ตัน ต้องรายงานเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งออกมากจนขาดแคลนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงราคาน้ำตาลทรายในตลาดล่วงหน้าที่อังกฤษขึ้นไปถึง กก.ละ 27 บาท ทำให้ราคาขายหน้าโรงงานและราคาปลีกที่ถึงมือผู้บริโภค ยกเว้นน้ำตาลถุง 1 กก.ในโมเดิร์นเทรด ได้ปรับขึ้นไปแล้วตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ก่อนหน้า และเมื่อราคาในประเทศต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ยิ่งเอื้อให้เกิดการลักลอบนำน้ำตาลออกนอกประเทศมากขึ้น รวมทั้งกองทัพมดที่ยังขนได้ครั้งละไม่เกิน 1 ตัน ก็ทำให้น้ำตาลในประเทศค่อย ๆ ตึงตัวและขาดแคลนในที่สุด แถมยังขัดกับนโยบายรัฐเองที่กำหนดภาษีความหวานเป็นขั้นบันไดเพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพต่อประชาชน”
แต่มีบางฝ่ายมองว่า มีความเป็นธรรมหรือไม่ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง?เพราะหากดูในส่วนของต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ผลกระทบจากภัยแล้ง ที่ทำให้ผลผลิตลดลง ซึ่งคาดว่าการหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 66/67 ผลผลิตอ้อยอาจเหลือเพียง 75-80 ล้านตัน หรือลดลงประมาณ 10% จากปี 65/66 รวมถึงค่าปัจจัยการผลิตอื่นที่สูงขึ้นก็ต้องบอกว่า พอฟังขึ้นอยู่ แต่ก็งงว่า…ทำไม? เรื่องนี้ต้องให้ประชาชนเป็นผู้รับภาระ ทั้งที่พืชชนิดอื่นอย่างข้าวหากเสียหาย ก็มีโครงการประกันภัยพืชผลของรัฐบาลคอยดูแลให้
คนไทยกินน้ำตาลแพง
ส่วนเหตุผลที่บอกว่าต้องการให้ราคาน้ำตาลของไทยเท่ากับราคาตลาดโลก ที่กก.ละ 27 บาท ประเด็นนี้ต้องบอกว่าไม่ยุติธรรมสำหรับคนไทย เพราะไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลกแท้ ๆ ปีหนึ่งผลิตน้ำตาลได้ 10 ล้านตัน แบ่งเป็นการบริโภคน้ำตาลในประเทศ 2.5 ล้านตัน ที่เหลือส่งออกอีก 7.5 ล้านตัน ถามว่าสมควรแล้วหรือที่คนไทยต้องกินน้ำตาลแพงเหมือนประเทศอื่นทั่วโลก เทียบตรรกะเดียวกับประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่น ชาติในอาหรับก็ขายน้ำมันสำหรับประชาชนในประเทศตัวเองถูกกว่าราคาส่งออก เป็นต้น
ขณะที่การเก็บเงินเข้ากองทุน กก.ละ 2 บาท เพื่อนำไปจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยที่ตัดอ้อยสดส่งเข้าโรงงานน้ำตาลโดยไม่ใช้วิธีการเผา เพื่อลดฝุ่นพีเอ็ม 2.5 นั้นก็ถือว่าไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคคนไทยเช่นกัน ที่จะต้องแบกรับภาระในส่วนนี้ ทั้งที่ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โรงงานน้ำตาล และภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องแก้ปัญหา แต่กลับผลักภาระให้ประชาชนแทน
ขีดเส้น 1 เดือนต้องจบ
งานนี้ชาวไร่อ้อย ก็ออกโรงไม่พอใจ เพราะถือเป็นการเสียประโยชน์ จนขู่ถึงกระทั่งจะปิดโรงงานน้ำตาลทราย จนกระทรวงพาณิชย์ ต้องมีการเรียกมาเคลียร์เป็นการด่วน พร้อมให้กับ ตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ปัญหาโดยมีมือเก๋าอย่าง “ยรรยง พวงราช” อดีตปลัดและรมช.พาณิชย์ ที่นั่งเป็นที่ปรึกษาฯ มาคอยกำกับดูแลแก้ปัญหาให้จบภายใน 1 เดือน และหากได้ข้อสรุปแล้ว ถ้าต้องนำน้ำตาลทรายออกจากบัญชีสินค้าควบคุมก็พร้อมทำ ซึ่งหลังจากนี้…ต้องรอติดตามคณะทำงานร่วม 4 ฝ่ายทั้งกระทรวงพาณิชย์-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์-กระทรวงอุตสาหกรรม-ชาวไร่อ้อย จะหาทางออกดีที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ ออกมาอย่างไร! ในเมื่อเป้าหมายของคณะทำงานชุดนี้ ต้องระดมสมองร่วมกัน ร่วมมือระหว่างกัน เพื่อหาทางออกให้กับอุตสาหกรรมทั้งระบบ ที่สำคัญ ยังต้องทำให้เกิดความยั่งยืน
ข้อสำคัญกระทรวงพาณิชย์เอง การันตีไว้ชัดเจนว่า การหารือร่วมกันของคณะทำงานชุดนี้จะเป็นทางออก ทางจบเรื่องที่ดีที่สุด แม้นว่า… สุดท้ายแล้วกระทรวงพาณิชย์ต้องกลับลำ ต้องถอดสินค้าน้ำตาลทรายออกจากสินค้าควบคุมก็ตาม ก็พร้อมดำเนินการ แต่ทั้งหลายทั้งปวง ต้องเป็นทางออกของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ไม่ใช่ข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องมาจากทุกฝ่าย
เรียกได้ว่า!! ต้องจับตาการแก้ปัญหานี้อย่างใกล้ชิด เพราะครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนใหญ่ของทั้ง 2 กระทรวงใหญ่รัฐบาล ที่ทำงานขาดการประสานกันอย่างแรง ต่างคนต่างมองมุมตัวเอง แต่หลังจากเกิดปัญหา การแก้ปัญหายกแรก ถือว่า เริ่มต้นได้ดี เพราะถึงขนาดรัฐมนตรีทั้ง 2 กระทรวงต้องยกหูสายตรงถึงกัน สยบปัญหาไม่เช่นนั้นจะบานปลายจากน้ำตาลก้อนเดียว ไปเป็นเกาเหลาพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อทุกคนเริ่มหันมาคุยกันแล้ว ก็ต้องดูว่า ต่อไปจะสร้างสมดุลผลประโยชน์ของทุกภาคส่วน หรือ “วิน-วิน” ทุกฝ่ายอย่างไร?.
…………………..
ทีมเศรษฐกิจ