ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานีตำรวจภูธรแสนสุขโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุถึงกรณีเข้าจับกุมรถตู้โตโยต้า คล้ายรถบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ ต.แสนสุข อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี
โดยระบุข้อความด้วยว่า เหตุเกิดตอนเที่ยงคืนเศษ ตำรวจแจ้งให้รถเครื่องเสียงขอความกรุณางดใช้เสียงด้วย ดึกแล้ว แต่รถคันดังกล่าวตอบกลับว่ “ทำไมเราปิดเสียง นี่วันไหล”
“ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น คำเตือนของเจ้าหน้าที่ เหมือนเสียงลอยผ่าน เคลื่อนรถต่อไปด้วยความสนุกสนานเมามัน เคครับตามนั้น…จุดจบก็ประมาณที่เห็น”
อุบัติเหตุสงกรานต์ปีนี้ พบ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเพิ่มขึ้นถึง 91%
7 วันอันตราย "สงกรานต์ 2566" ตายสะสมแตะสองร้อย น่านแชมป์อุบัติเหตุ-เจ็บสูงสุด คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้
ต่อมา สภ.แสนสุข โพสต์ข้อความในลักษณะตั้งคำถามว่า ตกลงตำรวจทำผิด ? พร้อมชี้แจงรายละเอียด ว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา เวลาประมาณ 00.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ทำการปิดสถานบันเทิง สถานบริการ ตั้งแต่เที่ยงคืน โดยให้งดใช้เสียง และเปิดไฟให้สว่าง เพื่อเคลียร์คนที่อยู่บริเวณหน้าร้าน
รถคันดังกล่าวก็ได้ขับขี่ผ่านมาช้าๆ พร้อมกับเปิดเครื่องเสียงเสียงดัง และเต้นไปด้วย พ.ต.อ.พัฒนา รอบรู้ ผกก.สภ.แสนสุข ซึ่งอยู่ในรถตรวจการณ์ จึงได้ใช้โฟนบอกให้รถคันดังกล่าว งดใช้เสียง แต่รถคันดังกล่าว ได้พูดโต้ตอบออกมา ว่า ทำไมสถานบริการยังเปิดเสียงเพลงได้ และไม่ยอมปฏิบัติตาม ได้เปิดเสียงเพลงดังขับขี่ต่อไป
ผกก.สภ.แสนสุข กับเจ้าหน้าที่ตำรวจใกล้เคียง จึงได้ติดตามไปจับกุมตัวดำเนินคดี และได้เปรียบเทียบปรับในชั้นสอบสวนในเวลาต่อมา
สภ.แสนสุข ขอชี้แจงว่า ในคืนดังกล่าว สถานบันเทิงทุกร้าน ได้งดใช้เสียงเวลาเที่ยงคืน ยกเว้นร้านที่ได้รับอนุญาตให้เปิดบริการได้ถึง 01.00 น. ตำรวจจึงได้ทำการบังคับใช้กฎหมายกับรถคันดังกล่าว ตามอำนาจหน้าที่และด้วยความเป็นธรรม หากเตือนแล้ว มีเจตนาฝ่าฝืน ก็ต้องจับกุมดำเนินคดี
ขณะที่ล่าสุด สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ -สพฉ.1669โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า จากกรณีที่ปรากฏมีภาพในสื่อสังคมออนไลน์ ในการนำรถการแพทย์ฉุกเฉิน ไปใช้ในการเปิดเพลงเครื่องขยายเสียง และเพื่อการเต้นรำต่างๆ โดยเป็นการขับขี่บนท้องถนน
ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวเตือนไปยังหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินทั่วประเทศให้หยุดการกระทำดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อพี่น้องประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนอันจะนำมาซึ่งความไม่น่าเชื่อถือในการปฏิบัติงานของรถฉุกเฉิน
“ทั้งนี้ รถฉุกเฉินมีไว้ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน การนำรถฉุกเฉินแม้จะถูกกฎหมายหรือไม่ ก็ต้องมีจรรยาบรรณของการมีไว้ซึ่งการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน การนำไปดำเนินการใดๆที่ผิดต่อกฏหมายอื่น ย่อมมีความผิด และต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย”