นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า การประชุมกกพ.เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 66 มีมติรับทราบภาระต้นทุนค่าเอฟทีประจำรอบ ก.ย.-ธ.ค. 2565 และเห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำ ค่าเอฟทีประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง กฟผคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ไปรับฟังความคิดเห็นในกรณีต่าง ๆ จากอัตราค่าไฟงวดปัจจุบัน ม.ค.-เม.ย. อยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย (บ้านเรือน) ภาคอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรม บริการ เกษตร อยู่ที่ 5.33 บาทต่อหน่วย
กรณีที่ 1 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 1 งวด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 จำนวน 293.60 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 จำนวน 63.37 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ทั้งหมด หรือเงินภาระต้นทุนคงค้างสะสมเดือน ก.ย. 2564-ธ.ค. 2565 จำนวน 150,268 ล้านบาท คิดเป็น 230.23 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.72 บาทต่อหน่วย ตามรายงานการคำนวณตามสูตรเอฟที
กรณีที่ 2 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 5 งวด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน พ.ค.-ส.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2566 จำนวน 105.25 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 จำนวน 63.37 สตางค์ต่อหน่วย และเงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงที่คาดว่าจะคงเหลือจากเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 จำนวน 136,686 ล้านบาท บางส่วน (เงินภาระต้นทุนคงค้างสะสมเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2565 หักภาระต้นทุนคงค้างที่ กกพ. เห็นชอบให้ทยอยเรียกเก็บบางส่วนเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 จำนวน 22.22 สตางค์ต่อหน่วย เป็นเงินประมาณ 13,584 ล้านบาท) โดยแบ่งเป็น 5 งวดๆละ 27,337 ล้านบาทหรืองวดละ 41.88 สตางค์ต่อหน่วยเพื่อให้ กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายในเดือน ธ.ค. 2567 โดย กฟผ. จะต้องบริหารภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชนจำนวน 109,349 ล้านบาท ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.84 บาทต่อหน่วย ตามข้อเสนอของ กฟผ.
กรณีที่ 3 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 6 งวด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 จำนวน 98.27 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 จำนวน 63.37 สตางค์ต่อหน่วย และเงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงคาดว่าจะคงเหลือจากเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 จำนวน 136,686 ล้านบาท บางส่วน โดยแบ่งเป็น 6 งวด งวดละ 22,781 ล้านบาท หรืองวดละ 34.90 สตางค์ต่อหน่วยเพื่อให้ กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายใน 2 ปี (เม.ย. 2568) โดย กฟผ. จะต้องบริหารภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชนจำนวน 113,905 ล้านบาท ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.77 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้ กกพ.เปิดกว้างให้กับประชาชนได้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. www.erc.or.th ตั้งแต่วันที่ 10-20 มี.ค. 66 ก่อนที่จะมีการสรุป เสนอบอร์ด กกพ. วันที่ 22 มี.ค. และประกาศเป็นทางการต่อไป ซึ่งการรับฟังความเห็นไม่ได้จำกัดแค่ 3 กรณีนี้เท่านั้น หากประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความเห็น หรือเหตุผลอย่างไร สามารถชี้แจงมาได้ เพื่อจะสรุปและนำเสนอบอร์ดต่อไป
ส่วนกรณีที่นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าววานนี้ (9 มี.ค.) ว่า ให้กกพ. ไปดูค่าไฟฟ้างวดใหม่ จะต้องลดลงเท่าที่ลงได้ให้มากที่สุด เบื้องต้นคาดว่า จะสามารถกำหนดราคาค่าไฟฟ้าได้ เท่าเดิมที่4.72บาทต่อหน่วย และความตั้งใจ อยากให้ราคาไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนลดลงเท่ากัน อยู่ที่4.72บาทต่อหน่วย หรือต่ำกว่านั้นได้ยิ่งดีถ้าทำได้ นานคมกฤช กล่าวว่า กรณีนี้เป็นไปได้เช่นกัน ก็ต้องรอรับฟังความเห็นทั้งหมดอีกครั้ง และนำเสนอเข้าบอร์ดให้พิจารณาในวันที่ 22 มี.ค.ว่า จะสรุปตัวเลขเท่าไร ซึ่งอัตราที่นำเสนอครั้งนี้ เป็นไปตามมติการประชุมบอร์ดวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมา ตัวเลขเป็นทางการต้องรอสรุปทั้งหมดวันที่ 22 มี.ค.