หลังราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566
โดยมีใจความสำคัญข้อหนึ่งระบุไว้ว่า "หลักเกณฑ์ของผู้สูงอายุต่อไปที่จะได้รับหลังประกาศใช้ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 จะต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอ"
ส่งผลให้นักวิชาการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มออกมาพูดถึงว่า เรื่องนี้จะเป็นการลอยแพผู้สูงอายุที่กำลังจะเข้าสู่อายุ 60 ปี หลังจากนี้หรือไม่ และจะเกิดการตกหล่นบางกลุ่มในอนาคตหรือไม่
ฉบับเต็ม! ปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยกเลิกถ้วนหน้า ?
“วิโรจน์” โวยรัฐบาล ลักไก่ปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ ต้องพิสูจน์ความจน
"ชัยธวัช" ชี้ไม่ควรปรับเบี้ยผู้สูงอายุ ก่อนมีรัฐบาล
ภาพ :พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
“อนุพงษ์” ยันสูงวัยยังรับเบี้ยยังชีพได้เหมือนเดิม ระเบียบนี้เปิดทางให้ รบ.ใหม่แก้ปมจ่ายเงินได้ทุกรูปแบบ
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีเรื่องนี้จะเป็นการลักไก่ลอยแพผู้สูงอายุกว่า 6 ล้านคนเพื่อตัดลดงบประมาณรายจ่ายด้วยหรือไม่ว่าเดิมทีการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุทางกรมบัญชีกลางเห็นว่าผู้ที่มีรายได้อื่น ๆ เช่น บำนาญจะรับเงินไม่ได้ ต้องทำการเรียกคืน สุดท้ายก็มีปัญหา จนรัฐบาลต้องจ่ายเงินคืนให้
จากนั้นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความ พบว่า ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ว่าประชาชนจะต้องมีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ โดยเฉพาะผู้ยากไร้ รัฐบาลต้องช่วยเหลือ เพราะฉะนั้นการที่กำหนดว่าจะให้ใครตามระเบียบเดิมไม่ได้แล้ว จึงเป็นที่มาของการออกระเบียบใหม่ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
สำหรับเกณฑ์การจะให้ย่อมต้องทั่วถึงเป็นธรรม โดยจะมีคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นผู้กำหนด ถ้าจะให้ทั่วถึงจ่ายทุกคนก็ได้ หรือกำหนดกลุ่ม ไม่ต้องจ่ายให้กลุ่มคนรวยก็ได้เช่นกัน ซึ่งระเบียบนี้เปิดทางไว้
หากคณะกรรมการผู้สูงอายุยังไม่กำหนด ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จ่ายแบบเดิมได้ ทั้งผู้ที่ได้รับอยู่แล้ว กับผู้ที่จะอายุครบ 60 ปีใหม่ ก็สามารถจ่ายตามเกณฑ์เดิมได้
ส่วนเกณฑ์ที่จะมากำหนดนั้น เรื่องนี้ต้องแล้วแต่คณะกรรมการจะพิจารณาอย่างไร แต่รัฐบาลชุดนี้ไม่มีอำนาจที่จะไปทำ เพราะเป็นเรื่องผูกพันกับรัฐบาลใหม่แล้ว เนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลได้ทำหนดแนวทางไว้ให้แล้ว รัฐบาลใหม่มาจะทำอย่างไรก็ทำได้หมดคำพูดจาก สล็อตวอเลท
ดังนั้นตอนนี้ผู้สูงอายุเดิมรับเงินอย่างไรก็รับไปตามเดิม ผู้สูงอายุใหม่ก็สามารถรับได้ตามเกณฑ์เดิม ตราบใดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ตอนนี้ประชาชนยังไม่ต้องกังวลใจ ตอนนี้ประชาชนจะได้ประโยชน์ทั่วถึงตามรัฐธรรมนูญ เป็นธรรม มีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต หนทางข้างหน้าก็จัดเตรียมไว้ให้แล้ว ออกทางไหนก็ได้ เพียงแค่ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้
ภาพ :นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
“จุรินทร์” เผย คกก.ผู้สูงอายุแห่งชาติ ไม่มีนโยบายลดเงิน-ลดจำนวนผู้สูงอายุ
ขณะที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ถึง การปรับเปลี่ยนการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ว่า ในส่วนคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ผู้ที่ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ว่า ให้เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์วัดว่าผู้ใดเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอ ยังไม่ได้มีการกำหนดนโยบายในเรื่องของการที่จะปรับลดเงิน และจำนวนของเบี้ยผู้สูงอายุใดๆ ทั้งสิ้น
แต่ที่ผ่านมาได้เข้าไปแก้ไขปัญหาการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุซ้ำซ้อน ซึ่งยุติไปแล้วกว่า 30,000 คนที่รับเบี้ยผู้สูงอายุซ้ำซ้อน ทั้งจาก 600-1,000 บาทและยังรับเบี้ยบำนาญตกทอด ซึ่งเราได้แก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องเอามาคืน หรือที่ยังไม่รับก็ให้มารับไปได้ ก็เป็นที่ยุติไป
นายจุรินทร์ ส่วนเรื่องแนวทางปรับปรุงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุปกติ 600 ถึง 1,000 บาท ยังไม่มีนโยบายที่จะไปเปลี่ยนแปลง มีเพียงการศึกษาจะทำอย่างไรที่จะเพิ่มเติมเบี้ยผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพเศรษฐกิจได้มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องภายในที่ได้มีการพิจารณาศึกษาอยู่
แต่ยืนยันว่ามติที่จะไปดำเนินการ ไม่มีการลดเบี้ย หรือลดจำนวนผู้สูงอายุ ทั้งนี้ตนในฐานะรักษาหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถึงเป็นรัฐบาลที่เริ่มต้นเบี้ยผู้สูงอายุแห่งชาติจาก 200 บาทต่อเดือนและพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
เรายืนยันว่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นเรื่องจำเป็น และมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุมีเงินได้ในการยังชีพและในอนาคต ถ้าสามารถเพิ่มเงินได้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและงบประมาณแผ่นดินก็ควรที่จะมีการพิจารณาดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาในเรื่องของกิจการชมรมผู้สูงอายุที่ช่วยพัฒนาประเทศ ซึ่งยืนยันว่าในรัฐบาลรักษาการชุดนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในเรื่องการกำหนดเกณฑ์รับเบี้ยผู้สูงอายุที่จะทำให้เป็นลบ ผมขอย้ำว่าไม่มีนโยบายเรื่องนี้ ส่วนมีความกังวลในการตีความเรื่องของความจนนั้น อันนั้นเป็นส่วนที่เขาจะต้องนิยามไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ไม่มีนโยบายซึ่งในหน่วยยังไม่มีนโยบายที่จะไปทำอย่างนั้น